ความรู้เรื่องเหล็ก - สูตรการคำนวณน้ำหนักเหล็ก
ในการคำนวณน้ำหนักเหล็กโดยประมาณนั้น เหล็กเป็นวัสดุที่มีหลายรูปร่าง และหลายขนาด ดังนั้นการคำนวณหาน้ำหนักเหล็กโดยประมาณจึงมีสูตรที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของเหล็ก ดังนี้
น้ำหนัก (กก.) = เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.) x เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0062
ลักษณะเหล็กที่ดี มีคุณภาพ ควรมีข้อพิจารณา 4 ประการ
1. ผิวเหล็ก
- เหล็กเส้นกลม ต้องผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก ลุกคลื่น หน้าตัดกลม ไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก
- เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
2. เส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักถูกต้อง
- เช่นเหล็กเส้นกลม SR-24 ขนาดบนเนื้อเหล็ก 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง ต้องได้ 9 มม. ชั่งน้ำหนักต้องได้ 0.499 กก. ต่อความยาว 1 เมตร และความยาวเหล้กเส้นกลมมาตรฐานทั้งเส้นอยู่ที่ 10 เมตร
3. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หักง่าย
4. เหล็กต้องไม่เป็นสนิมขุมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก หมายเหตุ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลที่เห็น ผิวเหล็กเป็นสนิม เพราะเป็นเรื่องปกติตามสภาพธรรมชาติร้อนชื้นของประเทศไทย
เลือกซื้อ 'เหล็กเต็ม' เพื่อความปลอดภัย
อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลี่นิวส์ วันเสาร์ ที่ 01 ตุลาคม 2554
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=166747
หากจะพูดถึงเรื่อง “เหล็ก” ที่ใช้ในงานก่อสร้าง หลายคนอาจรู้จักแค่เพียง เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย เหล็กฉาก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเหล็กทั้งหลายยังมีการแบ่งเป็น “เหล็กเต็ม” กับ “เหล็กเบา” อีกด้วย
เหล็กเต็ม หรือ เหล็กโรงใหญ่ หมายถึงเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. แต่ เหล็กเบา หรือ เหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กที่ผลิตให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ (นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้ว หรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง)
ในตลาดเหล็กทั่วประเทศ เหล็กเบาจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 10-15% และจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็มประมาณ 40สตางค์ – 1 บาทต่อ 1 กิโลกรัม
การเลือกซื้อเหล็กเบา มาใช้ในงานก่อสร้าง แม้จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะมีราคาที่ถูกกว่าเหล็กเต็ม แต่ก็อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะขนาด ความยาว และน้ำหนักที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้
ลาภทวี เสนะวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “งานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ อาทิ งานคอนโดมิเนียม งานก่อสร้างรถไฟฟ้า โอกาสเจอเหล็กเบาน้อยมาก แต่งานก่อสร้างโครงสร้างเล็ก ๆ เช่น งานโรงจอดรถ หรืองานต่อเติมบ้าน ระบบควบคุมไม่ดี มีโอกาสเจอเหล็กเบาสูงมาก เจ้าของบ้านเองมักไม่รู้ และไม่เข้าใจ ส่วนใหญ่มักยกหน้าที่เลือกซื้อเหล็กให้กับผู้รับเหมา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตที่ต้องมีความรับผิดชอบ ผลิตเหล็กตามมาตรฐาน”
วิธีการตรวจสอบ “เหล็กเต็ม” สามารถทำได้โดย การนำเหล็กที่มีความยาว 1 เมตรมาชั่ง แล้วนำน้ำหนักที่ได้ไปเปรียบเทียบกับน้ำหนักต่ำสุดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน บังคับ มอก. ถ้ามีน้ำหนักน้อยกว่าแสดงว่าเป็นเหล็กเบา ซึ่งไม่ควรนำมาใช้ก่อสร้าง
ถ้าไม่มีเครื่องมือตรวจวัด ชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบที่ง่ายที่สุดคือการตรวจดูเส้นผ่าศูนย์กลาง เพราะเหล็กเบามักถูกรีดให้มีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามเหล็กเต็มกับเหล็กเบาก็มักมีขนาดไม่ต่างกันมากนัก มองด้วยตาเปล่าอาจลำบาก
“ผู้บริโภคต้องยืนยันในหลักการที่จะใช้เหล็กเต็มที่ได้มาตรฐาน เพราะเหล็กเป็นโครงสร้างสำคัญของบ้าน เจ้าของบ้านต้องบังคับให้ผู้รับเหมารู้ว่าเราใส่ใจเรื่องนี้ ผู้ผลิตเองก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ อย่างทาทาสตีลเองก็จะตีตราทาทาทิสคอนลงบนเหล็กทุกเส้น เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าใครเป็นผู้ผลิต” ลาภทวี เสนะวงษ์ กล่าวสรุป
สำหรับลักษณะเหล็กเต็มที่ดี มีคุณภาพ ทาทาสตีลแนะนำให้พิจารณาจากคุณสมบัติ 5 ประการ 1. ต้องมียี่ห้อ ขนาดระบุบนเหล็กเส้น 2. ผิวเหล็กกลมต้องเรียบเกลี้ยงไม่เบี้ยว ไม่มีรอยปริแตก ส่วนเหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดเส้น 3. เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้องตามมาตรฐาน 4. เมื่อดัดโค้ง งอ ต้องไม่ปริแตก หัก ง่าย 5. เหล็กต้องไม่เป็นสนิมขุมกินเข้าไปใน เนื้อเหล็ก.
จัดทำบทความโดย: BOQ-Thaiวิศวกรประมาณราคา (Cost Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก boqthai
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
BOQ-THAI
พร้อมให้บริการ
ติดต่อ
โทร : 086-743-1141Email : boqthai@gmail.com
บริการของเรา
- รับถอดแบบประมาณราคา จัดทำ BOQ. ถอดแบบหาปริมาณงานและวัสดุ
- รับถอดแบบประมาณราคา คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
- รับถอดแบบประมาณราคา ทำ BOQ.เพื่อยื่นธนาคารและเพื่อก่อสร้าง
- รับถอดแบบหาปริมาณงานและวัสดุเพื่อจ้างเหมาค่าแรงกับผู้รับเหมา
- รับประเมินราคาค่าก่อสร้าง(BOQ)สามารถนำไปยื่นกู้ธนาคารได้ทันที
- รับถอดแบบบ้าน ประมาณราคา ค่าวัสดุ และ ค่าแรง (BOQ) เพื่อยื่นกู้ธนาคาร
- รับถอดแบบหาปริมาณวัสดุเพื่อคำนวณ ค่าวัสดุ ค่าแรง เพื่อประมูลงานก่อสร้าง
- รับออกแบบเขียนแบบ พร้อมวิศวกรเซ็นออกแบบ
- รับจัดทำรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรเซ็นออกแบบ
tags:รับประมาณราคา รับถอดแบบ ถอดแบบประมาณราคา ประมูลงานก่อสร้าง ประเมินราคา BOQ. ประเมินราคาก่อสร้างรับสร้างบ้าน,รับสร้างหอพัก,รับสร้างห้องเช่า,รับสร้างอาคารพาณิชย์,รับสร้างสำนักงาน,รับสร้างร้านค้าห้องแถว,รับสร้างโรงงาน,รับสร้างโกดังสินค้า,รับต่อเติมบ้าน,รับต่อเติมห้องน้ำ,รับต่อเติมห้องครัว,รับต่อเติมที่จอดรถ,รับต่อเติมโรงงาน,รับต่อเติมอาคารสำนักงาน,รับต่อเติมคอนโด,รับสร้างบ้าน,รับสร้างโกดัง,รับสร้างสำนักงาน,รับสร้างโกดัง,รับสร้างออฟฟิต,รับสร้างหอพัก,รับสร้างโรงงาน,รับตกแต่งภายใน